วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

Fri, 18/11/2011 - 19:53วีดีโอ
Printer-friendly version
วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

วงเสวนาวิชาการ "มหาอุทกภัย ใครต้องรับผิดชอบ" ซึ่งมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำเข้าร่วมสะท้อนความเห็นในแง่มุมต่างๆ ได้ข้อสรุปตรงกันที่จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีสาเหตุของน้ำท่วมปี 2554 พร้อมกันนั้นก็เสนอทางเลือกให้ประชาชนพิจารณายื่นฟ้องความผิดพลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปถึงรัฐบาล เพื่อกำหนดแผนป้องกันในอนาคต

ทันทีที่เปิดเวทีการแลกเปลี่ยน และร่วมสะท้อนปัญหา "มหาอุทกภัย ใครต้องรับผิดชอบ" โสภณ สุภาพงษ์ อดีต สนช.ได้นำข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ขึ้นมาแจกแจง พร้อมกับระบุถึงการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมและกันยายน ทำให้เป็นต้นเหตุของมหาอุทกภัย แต่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดบ้าง มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนข้อเท็จจริง

พร้อมกันนี้ ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมสะท้อนข้อมูลภาครัฐ กับการบริหารจัดการน้ำที่เชื่อว่า ล้มเหลว โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถป้องกันนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งได้ ขณะเดียวกันยังพบว่าไม่สามารถแจ้งเหตุอพยพได้ตามข้อเท็จจริงและทันที

นอกจากนี้ เวทีการเสวนาครั้งนี้ เจษฎา อนุจารี จากสภาทนายความยังเปิดเผยถึงผู้ที่ลงทะเบียนขอความช่วยเหลือที่จะฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐตั้งแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปจนถึงรัฐบาล เพื่อเรียกค่าเยียวยาและเสียหายเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 20 รายแล้ว และเชื่อมั่นว่าจะสามารถฟ้องได้ ทั้งศาลแพ่ง อาญา และศาลปกครอง แต่เสนอให้เพิ่มเติมในท้ายคำฟ้อง ที่ขอให้ศาลสั่งให้รัฐจัดทำแผนป้องกันสาธารณะภัยในอนาคต เพื่อประโยชน์ต่อไปด้วย

ขณะที่ รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เสนอเพิ่มเติมให้รัฐจัดหาเม็ดเงินงบประมาณเยียวยาและฟื้นฟู จากการจัดค่าภาคหลวงจากการขุดเจาะปิโตรเลียมและทองคำ แทนการเรียกเก็บภาษีหรือใช้เงินคงคลังในปัจจุบัน

บทสรุปจากการสะท้อนปัญหาในเวทีเสวนาครั้งนี้คือการถามหาความรับผิดชอบจากสถานการณ์น้ำ, การค้นหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่คาดหวังให้สังคมได้ร่วมชำแหละ เพื่อถอดรหัสอุทกภัยมาเป็นบทเรียน เพื่อกำหนดแผนป้องกันในอนาคตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการวางแผนที่ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของรัฐ เพื่อการปฏิบัติในอนาคตอย่างเป็นระบบและเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอีกด้วย

http://news.thaipbs.or.th/content/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น