วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคเอดส์อาละวาดมาตั้ง 30 ปีแล้ว เพิ่งคิดวัคซีีนทดลองกับหนูสำเร็จ

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคเอดส์อาละวาดมาตั้ง 30 ปีแล้ว เพิ่งคิดวัคซีีนทดลองกับหนูสำเร็จ



โรคเอดส์อาละวาดมาต้ัง 30 ปีแล้ว เพ่ิงคิดวัคซีีนทดลองกับหนูสำเร็จ

สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯแจ้งว่า เพิ่งทดลองวัคซีนป้องกันโรคเอดส์กับหนูเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก นับแต่เกิดโรคเอดส์มานานถึง 30 ปีแล้ว

วารสารวิชาการ "ธรรมชาติ" ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า หนูซึ่งถูกดัดแปลงทาง พันธุกรรมสามารถสร้างแนวต้านทานเชื้อไวรัส โรคเอดส์ ซึ่งเป็นแนวหน้าของระบบภูมิคุ้มกันขึ้นได้ หลังจากที่ฉีดให้ด้วยยีน

ตั้งแต่ปรากฏขึ้นมา เมื่อ พ.ศ.2524 โรคเอดส์ได้คร่าชีวิตผู้คนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ล้านชีวิต แต่ยอดผู้เสียชีวิตได้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ขึ้นสูงสุด เนื่องด้วยการรักษาด้วยยา

บรรดานักรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ลงความ เห็นว่า จะปราบโรคลงได้ก็ด้วยการคิดวัคซีนขึ้นได้ เท่านั้น หากแต่เคยปรากฏว่าที่คิดกันขึ้นมามีอยู่สูตรเดียวเท่านั้นสามารถป้องกันได้เพียงร้อยละ 31 เท่านั้น

นักวิจัยต้องกลับไปตั้งต้นใหม่อีกเพื่อมองหา "ภูมิคุ้มกันที่สามารถถอนพิษได้อย่างกว้างขวาง" ขึ้น.

ต้นฉบับ: http://www.thairath.co.th/content/edu/222179
ที่มา: ไทยรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////
 

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน (ออเครสตร้า)







เพลงพื้นบานภาคอีสาน ประกอบดวย เซิ้ง แหปราสาทผึ้ง แวว เสียงโปงลาง และแหยไขมดแดง
(โครงการบันทึกเสียงเพลงประจําชาติ "ชุดเพลงพื้นเมือง" Thai Traditional Music Project: Folk Songs Series)

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ วอนไทยแก้ไข ม.112 กิจกรรมเคลื่อนไหวกรณี "อากง" เกิดต่อเนื่อง 9-10 ธ.ค.

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ วอนไทยแก้ไข ม.112 กิจกรรมเคลื่อนไหวกรณี "อากง" เกิดต่อเนื่อง 9-10 ธ.ค.

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 22:12:12 น.

Share




เว็บไซต์ประชาไทยรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน


การแถลงดังกล่าวมีเนื้อหาว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรทางการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบที่สร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกภายในประเทศ


แชมดาซานิ ระบุว่า บทลงโทษที่ร้ายแรงที่เป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและยังเกินกว่าเหตุ อีกทั้งเป็นการละเมิดหลักกฎหมายสากลที่ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในทางระหว่างประเทศด้วย


"เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการให้แก่ตำรวจและอัยการ เพื่อยุติการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ และนอกจากบทลงโทษอย่างเกินกว่าเหตุแล้ว เรายังกังวลต่อการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดีด้วย"  ตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าว


เว็บไซต์ประชาไทรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 ธันวาคม ที่บริเวณบาทวิถีหน้าศาลอาญา รัชดา ได้มีกลุ่มคนแต่งชุดดำจำนวนกว่า 112 คน นำโดยเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมชื่อ "เราคืออากง" โดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) วัย 61 ปี โดนพิพากษาจำคุก 20 ปี จาก"คดีอากง SMS"


ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์รายงานว่า ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ จะมีการจัดกิจกรรม "อภยยาตรา" โดยผู้เข้าร่วมจะเดินรณรงค์กรณีคดีอากง, นักโทษการเมือง และนักโทษ ม.112 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังสี่แยกราชประสงค์


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323443387&grpid=no&catid=03&subcatid=0305

 

Conspiracy Theory Area 51-U.S. MILITARY using the alien hoax to cover-u...


อัปโหลดโดย เมื่อ 11 เม.ย. 2011

Douglas Bickford 360-773-1318

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คู่มือหลังน้ำลด 'กระสอบทราย' ทำได้มากกว่าที่คิด

คู่มือหลังน้ำลด 'กระสอบทราย' ทำได้มากกว่าที่คิด

รับศึกหนักในการกั้นน้ำมาหลายเดือน กระสอบทรายหลายถุง ยังคงทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ บทบาทของกระสอบทรายเหล่านี้ยังไม่สิ้นสุด แต่วันใดที่น้ำลด พวกมันคงกลายเป็นขยะก้อนโตราคา(เคย)แพง  ที่วันนี้ต้องหาวิธีเอาไปใช้ และอยู่ให้ถูกจุด มากกว่าจะทิ้งไว้อย่างไม่แยแส..

ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนขาดตลาด เกิดการโก่งราคากันมาพักใหญ่แล้วสำหรับกระสอบทราย บังเกอร์ผู้กล้าหาญที่คอยต้านน้ำไม่ให้เข้าบ้าน ด้วยประสิทธิภาพที่เชื่อว่ากั้นน้ำได้ 'เอาอยู่'

ประเทศไทยตอนนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและเขตเฝ้าระวัง เลยมีแต่กระสอบทรายกระจายทั่วไปหมด ทั้งถุงทรายขนาดเล็ก และถุงบิ๊กแบ็ก ซึ่งถ้าจะลองเอาทรายพวกนี้มารวมเป็นกองเดียวกันดู คงมีปริมาณมหาศาลทีเดียว หลังจากที่น้ำแห้งเหือด กระสอบทรายพวกนี้คงกลายเป็นอีกประเด็นที่จะต้องคิดกันแล้วว่า จะเอาไปใช้สอยอะไรต่อ ก่อนที่จะกลายเป็นขยะ

ก่อนอื่นต้องเช็กว่าทรายในกระสอบนั้นเป็นทรายดีหรือไม่  และเป็นทรายชนิดไหน หรือถ้าเป็นทรายขี้เป็ด ที่มีเศษดินเศษอินทรีย์ผสมอยู่ การนำกลับมาใช้นั้นจะมีประโยชน์น้อยกว่า แต่ถ้าเป็นทรายที่มีคุณภาพสามารถนำมาทำอะไรได้หลายอย่างมาก เช่น

ก่อร่างสร้างบ้านใหม่

ทรายดีย่อมใช้ในการก่อสร้างได้ แต่ก็ต้องเช็กดูอีกว่าต้องเป็นทรายน้ำจืดหรือไม่ เพราะทรายที่ใช้ในการก่อสร้างต้องเป็น ทรายบกเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทรายน้ำเค็ม หรือทรายชายหาดทะเลได้

วิธีนำไปใช้ก็คือ ผสมปูนก่อปูนฉาบ ซ่อมแซม หรือปรับปรุงบ้าน เพราะหลังน้ำท่วมทำให้เรารู้ว่าบ้านเรามีจุดบกพร่องหรือ รูรั่ว ตรงไหนบ้าง ก็แก้ไขในส่วนตรงนั้นซะ หรือจะนำมาผสมปูนเทราดทางเดินให้สูงขึ้นก็ย่อมได้เช่นกัน แต่ปูนซีเมนต์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้พื้นแข็งแรง ทรายก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะทรายมีหน้าที่ช่วยลดการแตกร้าว เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดคือทรายที่ใช้จะต้องเป็นทรายสะอาด ทรายที่อยู่ในกระสอบทรายกั้นน้ำแน่นอนว่าจะต้องสกปรก วิธีทำให้ทรายสะอาดคือล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อนนำไปใช้งาน 

ขนทรายเข้าวัด


งานนี้อาจกลายเป็นงานบุญครั้งใหญ่ ที่ช่วยล้างบาปจากการที่มนุษยย่ำยีธรรมชาติ การบริจาคทรายดีเข้าวัด ไว้ใช้ซ่อมแซมวัดหลังน้ำท่วมนั้นเป็นอีกทางออกที่ช่วยได้ เพราะตามวัดวาอารามต่างๆ ในพื้นที่ก็โดนน้ำท่วมหนักจมบาดาลเช่นกัน หลายคนอาจห่วงบ้านของตัวเอง จนลืมมองข้ามวัดแหล่งพักพิงทางใจที่อยู่กับคนไทยมาหลายร้อยปี ยิ่งถ้าเป็นวัดเก่าเก่าด้วยแล้ว ยิ่งต้องเร่งซ่อมแซมโดยด่วน เพราะวัดเก่าทรุดตัวง่าย หากไม่รีบบูรณะ สถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่อยู่คู่มากับวัดเหล่านี้ อาจพังทลายลง

ปลูกต้นไม้คืนธรรมชาติ 

ถ้านึกถึงทรายในการปลูกต้นไม้ แน่นอนอย่างแรกที่นึกออกคือต้นกระบองเพชร ซึ่งสามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้นได้มาก มันจะใช้น้ำตลอดระยะเวลาแห้งแล้งที่ยาวนาน และมันจะเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ ดังนั้นมันจึงสามารถอยู่ในทะเลทรายได้ โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีได้บอกถึงวิธีการปลูกกระบองเพชรได้แบ่งการปลูกไว้ 2 วิธี คือ

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือ ตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี

2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก ใครสนใจอยากหาเจ้ากระบองเพชรมาปลูกแนะนำให้ไปหาซื้อที่จตุจักร รับรองมีให้เลือกซื้อจนลายตาเลยทีเดียว

ทั้งนี้หากไม่รู้จะนำทรายดีเหล่านี้ไปทำอะไรดี อาจนำทรายเหล่านี้กลับคืนผู้ค้า ด้วยการขายต่อผู้รับเหมาอีกที แต่ก็ต้องทำใจด้วยว่าจะต้องขาดทุน เพราะราคาคงไม่สูงเหมือนตอนที่ซื้อมาใช้กั้นน้ำแน่นอน

สำหรับทรายขี้เป็ดหรือทรายที่มีเศษอินทรีย์ผสมอยู่ เป็นทรายคุณภาพต่ำ จะมีลักษณะเมล็ดเล็ก กลมมน เมื่อบดอัดแล้วถึงแม้จะดูเกาะตัวกันดีมีความแข็งพอประมาณ แต่เมื่อโดนน้ำจะหลุดออกจากกันกลายเป็นโคลน ถ้านำไปผสมปูน ก็ไม่เกาะตัว แตกร้าว จึงไม่สามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างได้ ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ทรายเหล่านี้ก็ไม่ไร้ค่าอย่างที่คิด เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย อย่างเช่น

ถมที่ปรับระดับ 

ถ้าใช้ทรายขี้เป็ดถมที่ ต้องบอกไว้ก่อนว่าพื้นที่ที่จะถมต้องไม่ใช้กับงานรับน้ำหนัก เช่น การเทถมปรับระดับสนามหญ้า ซ่อมแซมแอ่งน้ำที่เกิดหลังน้ำท่วม และถมที่ในบริเวณที่ไม่ได้เพาะปลูกก็ได้ หรือจะใช้สำหรับปรับพื้นก่อนเทพื้นก็ได้ 

ก่อสร้างอะไรเล็กๆ น้อยๆ 

ผสมกับปูน ก่อเป็นกระบะไว้ปลูกต้นไม้เล็กๆ แล้วแต่งแต้มด้วยสีสันนิดหน่อย ก็สามารถสร้างสวนสวย ช่วยกลับทำให้บ้านมีบรรยากาศสดใสขึ้น

น้ำลดเมื่อไหร่ กระสอบทรายเหล่านี้ก็คงหมดหน้าที่ไปด้วย นอกจากต้องเร่งระบายน้ำให้ออกสู่ทะเลแล้ว คงต้องระบายทรายออกด้วย หากแต่ละบ้านลองใช้วิธีที่แนะนำในวันนี้ไปบ้างก็น่าจะคุ้มค่ากับเงินที่ซื้อกระสอบทรายมา อีกทั้งขยะจะได้ไม่ล้นเมืองด้วย หรืออีกวิธีก็คือการนำทรายไปทิ้งรวมกันในจุดๆ เดียว ตามที่ทางกรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมไว้ให้ก็ได้.

Twitter : Sriploi_social
Twitter : ijikooo

 

โดย: ทีมข่าวไลฟ์สไตล์

26 พฤศจิกายน 2554, 08:00 น.

http://m.thairath.co.th/content/life/218670

 

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

www.authorstream.com/player/player.swf?u=http://www.authorstream.com/&p=1192393_634518297132305000&fb=1

www.authorstream.com/player/player.swf?u=http://www.authorstream.com/&p=1192393_634518297132305000&fb=1

สกอ.ตัดงบมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง เหลือเพียง 833 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งของบไปเท่ากับปีงบฯ 2554 จำนวน 2,000 ล้าน...

ตัดงบประมาณ 9 มหาวิทยาลัยวิจัย

สกอ.ตัดงบมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง เหลือเพียง 833 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งของบไปเท่ากับปีงบฯ 2554 จำนวน 2,000 ล้าน...

รศ.พินิต รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ได้หารือเรื่องงบประมาณด้านงานวิจัยในปีงบประมาณ 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง โดย สกอ.ได้รับงบฯในภาพรวมทั้งหมด 6,381.483 ล้านบาท เป็นงบวิจัย 2,694.480 ล้านบาท ซึ่ง สกอ.ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนางานวิจัยของประเทศไว้ เบื้องต้นจะร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พัฒนางานวิจัยสายการแพทย์ เพื่อแก้ปัญหาและลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ นอกจากนั้นยังมีโครงการผลิตนักวิจัยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้งบผลิตนักวิจัย 0.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP เป็น 2% ส่วนงบมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนั้น เดิมที่ สกอ.ตั้งของบไปเท่ากับปีงบฯ 2554 จำนวน 2,000 ล้านบาท ล่าสุดตามร่าง พ.ร.บ.จัดสรรงบฯให้เพียง 833 ล้านบาท.

โดย: ทีมข่าวการศึกษา

25 พฤศจิกายน 2554, 05:15 น.

http://m.thairath.co.th/content/edu/219011

 

พญาไท-เปาโล อาสา
ช่วยเหลือด้านการแพทย์เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม

 

พญาไท-เปาโล อาสา
ช่วยเหลือด้านการแพทย์เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม

"รวมไทยอาสา" โดยเครือโรงพยาบาลพญาไท–เปาโล สนับสนุนโดยมูลนิธิเวชดุสิตฯ ได้จัดตั้ง "ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย" เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาทางสุขภาพกาย และสุขภาพใจ แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก บนโทลล์เวย์ใกล้ทางลงด่านอนุสรณ์สถาน เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเบื้องต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงมีการนำหน่วยแพทย์ทางเรือเข้าพื้นที่ เพื่อบริการตรวจ และแจกจ่ายยาชุดยาสามัญรักษาโรคเบื้องต้น และยาเฉพาะทางที่สำคัญ อาทิ ยารักษาโรคเบาหวาน ความดัน กระเพาะอาหาร ความเครียด ยารักษาอาการแพ้-ผื่นคัน ยารักษาน้ำกัดเท้า รวมถึงชุดสารส้ม คลอรีน เพื่อสุขอนามัยที่ดี พร้อมถุงยังชีพให้แก่พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่สามารถเดินทางออกมารับความช่วยเหลือที่ศูนย์ฯ ได้ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ความช่วยเหลือเข้าไปได้ยากลำบากและไม่ทั่วถึง ในบริเวณเขตรังสิต–ดอนเมือง คลองหนึ่ง คลองสอง และลำลูกกา ซึ่งมีน้ำท่วมขังในระดับที่ค่อนข้างสูง


นอกจากนี้ ทางเครือโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ภายใต้โครงการ "รวมไทยอาสา" เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ยังได้ร่วมกับหน่วยกู้ภัยฮุก 31 นครราชสีมา เข้าช่วยเหลือเยียวยาชาวบ้านย่านรังสิต-นครนายก (คลอง 1 และคลอง 2) รวมทั้งร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศโดยศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก สนับสนุนเรือท้องแบนพร้อมกำลังพลทหารกว่า 10 นาย นำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เครือ รพ.เปาโลฯ และทีมอาสา ลงพื้นที่ให้บริการตรวจ รักษา และแจกยารักษาโรคพื้นฐานแก่พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตพื้นที่บริเวณซอยวิภาวดี 42-43 และบริเวณวัดประยูรธรรมาราม ที่มีน้ำท่วมขังค่อนข้างสูง และมีประชาชนที่ยังไม่อพยพอาศัยอยู่ในบ้านในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะพระสงฆ์ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ เด็กและสตรี เป็นจำนวนมาก อีกทั้งเครือ รพ.เปาโลฯ ยังได้นำตัวผู้ป่วยที่มีอาการหนักออกมาจากพื้นที่ เพื่อเข้ารับการรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เฉพาะทางต่อไป



นอกจากนี้ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างครบวงจร หลังเหตุการณ์น้ำท่วมบรรเทาลง ยังมีแผนรองรับซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องในการฟื้นฟูชุมชนหลังน้ำลด รวมไปถึงสุขภาพจิตจากความเครียดของประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อไป


โดย: ทีมข่าวไลฟ์สไตล์

25 พฤศจิกายน 2554, 16:00 น.

http://m.thairath.co.th/content/life/219078

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สหภาพฯ ทำ จม.เปิดผนึกจี้ " บอร์ด อสมท " ลาออกยกชุด ซัดทำโมเดิร์นไนน์เป็นแดนสนธยา พร้อมขอคลังสรรหาคนใหม่ให้มีฝีมือและโปร่งใส

 
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 06:04:57 น.

สหภาพฯ ทำ จม.เปิดผนึกจี้ " บอร์ด อสมท " ลาออกยกชุด ซัดทำโมเดิร์นไนน์เป็นแดนสนธยา พร้อมขอคลังสรรหาคนใหม่ให้มีฝีมือและโปร่งใส

Share



สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ออกจดหมายเปิดผนึกจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกถึงประธานกรรมการ บมจ.อสมท (สุรพล นิติไกรพจน์) และกรรมการ บมจ.อสมท มีหัวข้อว่า " วอน!!! เสียสละ ละวาง เพื่อ อสมท องค์กรของประชาชน " มีเนื้อหาว่า สืบเนื่องจากกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการ บมจ.อสมท (บอร์ด) และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ อสมท อย่างหนัก จากการที่ต่างฝ่ายมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายและมีแนวโน้มว่าจะสามารถหาข้อยุติได้ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้

 

ที่ผ่านมาสหภาพ บมจ.อสมท ได้รับฟังเหตุผลความจำเป็นทั้งของบอร์ด อสมท ฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บริหาร อสมท ที่พยายามใช้การเจรจา เพื่อหาทางออกที่จะมีผลกระทบต่อ อสมท ให้น้อยที่สุด จึงไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องกดดัน เพราะเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียงทั้งในแวดวงราชการและสังคม แค่ปรากฏว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเจรจาต่างๆ ไม่เป็นผล กลับเป็นเหตุผลส่วนตัวของประธานกรรมการ บมจ.อสมท ที่เห็นว่าวิธีการของกระทรวงการคลังเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ขณะที่ภายในองค์กรเกิดปัญหาความไม่แน่นอนในเชิงบริหาร ตลอดจนแผนงานที่ต้องแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต สำคัญที่สุดคือเสียงสะท้อนจากนักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ และสาธารณชน ที่เห็นว่า อสมท เป็นแดนสนธยาจากปัญหาเกมการเมืองที่ไม่จบสิ้น

 

จดหมายยังระบุว่า ในฐานะตัวแทนพนักงานสหภาพ บมจ.อสมท ไม่ประสงค์ให้ อสมท กลายเป็นเวทีประลองกำลังทางการเมืองของใครใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจาก อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนเพียงแห่งเดียว ที่ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อรักษาบทบาทหน้าที่สื่อและสมบัติชาติที่มีมูลค่าสินทรัพย์กว่าหมื่นล้านบาทแห่งนี้

 

สหภาพ บมจ.อสมท ขอความกรุณามายังบอร์ด อสมท ทุกท่าน โปรดละวางความรู้สึกส่วนตัวและเสียสละเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการลาออกเพื่อพิทักษ์องค์กรแห่งนี้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามวิถีทางการเมือง เช่นเดียวกับนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ที่แสดงสปิริตลาออกจากบอร์ด อสมท โดยไม่ยึดติดกับผลประโยชน์ส่วนตัว รวมถึงบอร์ด อสมท คนอื่นที่ลาออกไปก่อนหน้านี้

 

สหภาพ บมจ.อสมท ขอยืนหยัดการทำหน้าที่ตรวจสอบและพิทักษ์ผลประโยชน์ของ อสมท อย่างเข้มข้น กับบอร์ด อสมท ทุกชุด และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ทุกคน ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาลชุดใดก็ตาม

 

ส่วนฉบับที่สองถึง รมว.คลัง มีเนื้อหาว่า จากกรณีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บมจ.อสมท ซึ่งบอร์ด อสมท ได้เลื่อนวันประชุมจากเหตุอุทกภัยออกไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม 2554 โดยจะมีวาระการพิจารณาถอดถอนบอร์ด อสมท ด้วยนั้น ในฐานะที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สหภาพแรงงาน บมจ.อสมท ใคร่ขอความกรุณาช่วยหาทางหลีกเลี่ยงปัญหาข้อขัดแย้งที่จะบานปลายเป็นประเด็นทางการเมือง โดยหาข้อยุติกับบอร์ด อสมท ในแนวทางที่เกิดผลกระทบต่อ อสมท และพนักงานให้น้อยที่สุด

 

ขณะเดียวกันสหภาพ บมจ.อสมท ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ขอให้บอร์ด อสมท เสียสละลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการยุติปัญหาอีกทางหนึ่งแล้ว

 

จดหมายฉบับที่สองปิดท้ายว่า สำหรับการพิจารณาบอร์ด อสมท ชุดใหม่ ตลอดจนกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท นั้น สหภาพ บมจ.อสมท ขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังมีความโปร่งใส และสรรหาบุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีความรู้ความสามารถในงานสื่อสารมวลชนและเชิงธุรกิจ พร้อมขอให้พิจารณาเปิดโอกาสให้สหภาพ บมจ.อสมท ได้ร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถสร้างควานน่าเชื่อถือและความเจริญเติบโตให้แก่ บมจ.อสมท อันเป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนด้านสื่อสารมวลชนแห่งเดียวของรัฐบาลต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1322175937&grpid=03&catid=00

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หนุนสร้างเขื่อนยักษ์ในทะเล แก้น้ำท่วม ไม่เห็นด้วยย้ายเมืองหลวง

 

หนุนสร้างเขื่อนยักษ์ในทะเล แก้น้ำท่วม ไม่เห็นด้วยย้ายเมืองหลวง

หากให้กล่าวถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นที่ยอมรับในความสามารถว่าหาตัวจับได้ยากยิ่ง ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า จะต้องมีรายชื่อของบุคคลท่านนี้มาอยู่ในความคิดลำดับต้นๆ ของคนไทยอย่างแน่นอน และนั่นก็คือ "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ กยน.  

นายสมิทธ ได้กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ไม่ได้เป็นห่วงกรณีที่ปริมาณฝนในประเทศไทย จะตกในปริมาณเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆ ไป ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนในตอนนี้ ตามแนวโน้มภาวะโลกร้อนขึ้นสักเท่าไร แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดในตอนนี้กลับเป็นภาวะน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น เพราะน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายตามภาวะโลกร้อน ฉะนั้น ปริมาณน้ำในพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็จะสูงตามไปด้วยน้ำ และจะรุกลึกเข้ามาในผืนดิน ทำให้การระบายน้ำตามธรรมชาติก็ยากมากขึ้นไปด้วย  

ดร.สมิทธ ยอมรับว่า ตอนนี้ประเทศไทยก็กำลังประสบอยู่ แต่ไทยก็ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เต็มที่ มีแต่การคำนวณปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ ความจริงแล้วนักวิชาการด้านน้ำจากต่างประเทศ ทั้งเนเธอร์แลนด์ หรือสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิเคราะห์ถึงเรื่องลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เวลามันพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้เกิดคลื่นกระทบยังปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การระบายน้ำตามธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และบางปะกง ตามจังหวะน้ำขึ้น น้ำลง ทำได้ยากขึ้น 


ข้อมูลนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระบายน้ำของไทย ไม่เคยนำไปใช้เป็นข้อมูลใหม่ เพราะปัจจุบันภูมิอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลก็ไม่เคยหยิบนำไปใช้คำนวณ หากรัฐบาลหรือกรมชลประทานนำไปใช้ร่วมด้วย ก็จะมีความแม่นยำมากขึ้น จะคำนวณน้ำขึ้นน้ำลงจากดวงจันทร์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องทราบข้อมูลผลกระทบกรณีที่มีลมมรสุมพัดผ่านอ่าวไทยไปคำนวณร่วมด้วย ยิ่งปัจจุบันก็ปรากฏชัดว่า มีพายุหรือมรสุมพัดเข้ามาอ่าวไทยถี่มากขึ้น ซึ่งทำให้การระบายน้ำลงทะเลทำได้ยาก และช้ามากกว่าเดิม ซึ่งข้อมูลอย่างนี้เราต้องเอาไปใช้  จึงจะสามารถทราบว่าน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นเท่าใด เพราะนั่นเป็นสิ่งทำให้เกิดปัญหาระบายน้ำลงสู่ทะเลไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ทราบว่า เมื่อเสนอข้อมูลนี้ไปแล้ว รัฐบาลจะฟังหรือเปล่า

 

ดร.สมิทธ ย้ำว่า ต้องนำไปใช้ด้วย ไม่ใช่ฟังแต่น้ำขึ้นน้ำลงอย่างเดียว ซึ่งมันโบราณแล้ว สมัยใหม่สามารถคำนวณได้มากกว่านั้น อย่างเช่น ลมพัดผ่านอ่าวไทยทำให้เกิดคลื่นเข้าไปปะทะบริเวณปากแม่น้ำอย่างไร ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำลงสู่ทะเลตามธรรมชาติก็ช้าลง อันนี้ต้องเอาข้อมูลไปใช้ อันนี้มันมีผลกระทบจริงๆ อีกอันที่ต้องยอมรับ คือมีคนกล่าวหาว่าผมชอบไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล มันไม่ใช่รัฐบาลนี้รัฐบาลเดียว แต่เพราะรัฐบาลก่อนๆ มา การปล่อยน้ำมาเป็นจังหวะๆ มันยังน้อย แต่รัฐบาลนี้ตอนเปลี่ยนรัฐบาลมีการปล่อยน้ำลงมาเยอะพร้อมๆ กัน 3 เขื่อนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำมันก็มาก ที่ราบลุ่มภาคกลางก็ไม่สามารถรับน้ำได้มากเพียงพอ  


"แล้วต่อไปยอมรับว่า แนวโน้มปริมาณฝนจะตกมากขึ้น แต่ปี 2553 ความจริงเราเก็บน้ำในเขื่อนปริมาณน้อยไป พอหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ทำการเกษตร หรือปล่อยน้ำไปไล่น้ำทะเลปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา คือน้ำในเขื่อน จะต้องเก็บพอดี มากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ต้องเก็บไว้พอดีๆ ปลายฤดูฝนเก็บน้ำไว้มากไม่เป็นไร แต่ถ้าเก็บไว้มากตั้งแต่ต้นฤดูฝน พอฝนตกลงมา กลางฤดูจนถึงปลายฤดูเราก็ไม่มีที่เก็บน้ำในเขื่อนแล้ว มันจึงเกิดปัญหา ดังนั้นขั้นตอนการเก็บน้ำที่ผ่านมามันเก็บไม่ถูกจังหวะ ประกอบกับคนที่สั่งเก็บกับสั่งปล่อยคนละงานกัน พอปล่อยมาแล้ว คนที่จะมาระบายก็คนละคนกันอีก ปล่อยน้ำมาแล้ว กทม.ก็ไม่ยอมให้น้ำเข้ามา น้ำเลยไม่รู้จะไปไหน เพราะระบบระบายน้ำ กทม.ดีที่สุดในประเทศ ถ้าปล่อยน้ำมาตั้งแต่ต้นฤดูฝน กทม.ก็สามารถระบายออกได้ไม่มีปัญหา น้ำก็จะไม่ขังอยู่เหนือ กทม.มาก แต่พอปล่อยน้ำออกมาปริมาณมากพร้อมๆ กัน  ก็เลยไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำ เพราะเกรงว่าจะรับไว้ไม่อยู่น้ำจึงท่วมขังมาก" ดร.สมิทธ กล่าว.

ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังยืนยันอีกว่า อนาคตปริมาณน้ำทั่วโลกจะมากขึ้น เกิดจากภาวะโลกร้อน เพราะน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอย่างแน่นอน ในเวลาประมาณอีกไม่เกิน 10-11 ปี จากนี้ไปถึงแม้ไม่มีฝนตกลงมาแต่น้ำก็จะท่วม อันนี้เราต้องหาทางแก้ไข จะแก้ยังไง แก้ปํญหาเหมือนกับประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างเขื่อนปิดกั้นปากแม่น้ำหรือไม่ หรือจะย้ายเมืองหลวงอย่างที่หลายฝ่ายออกมาพูดกัน ในตอนนี้ก็ต้องเลือกเอา แต่ความเห็นส่วนตัวย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปที่อื่น ถือเป็นเรื่องใหญ่ คนตั้ง 10 ล้านคนจะหาที่อยู่ที่ไหน แล้วหากจะย้ายเมืองหลวงจริง มันไม่ใช่ย้ายแค่ 1-2 ปี แต่ต้องเป็น 10 ปี อย่างพม่าย้ายเมืองหลวงตั้ง 40 ปี ก็ยังย้ายไม่เสร็จ ของไทยพูดได้แต่ทำยาก ทางแก้ต้องสร้างเขื่อนในอ่าวไทย อย่างที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ทำ หรืออย่างนักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอไว้ ผมก็เห็นด้วยในการสร้างเขื่อนบริเวณอ่าวไทย เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากกรณีน้ำทะเลสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วม กทม.ความจริงส่วนตัวศึกษามานานแล้ว เวลาไปบรรยายหนุนให้ประเทศไทยสร้างเขื่อนในอ่าวไทยป้องกันน้ำท่วมทีไรก็ถูกต่อว่าทุกครั้ง

 

 


ดังนั้นส่วนตัวยอมรับว่าเห็นด้วยในการสร้างเขื่อนบริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทย เพราะสร้างแล้วในฤดูแล้งตรงนั้นก็เป็นน้ำจืดสามารถเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ ส่วนหน้าน้ำก็จะกลายเป็นแก้มลิง มีประตูปิด-เปิด ระบายน้ำออกสู่ทะเล จัดระบบให้ดี

ส่วนกรณีที่มีหลายคนสงสัยว่า ถ้าสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ก็เหมือนเป็นการปิดกั้นน้ำไหลลงสู่ทะเล ซึ่งตอนนี้ก็เห็นอยู่แล้วว่าระบายน้ำออกไม่ทัน แล้วจะไม่แย่หรือ? ดร.สมิทธ ระบุว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่สร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำที่จะไหลลงสู่ทะเล แต่สร้างเขื่อนลงไปในทะเลแล้วให้น้ำจืดในแม่น้ำไหลลงมาให้สุดในพื้นที่ที่เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเปิดประตูระบายน้ำออกสู่ทะเลเวลาน้ำทะเลลง ถ้าน้ำทะเลขึ้นก็ปิด ไม่ให้น้ำทะเลหนุน ซึ่งจะสามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลได้ด้วยไม่ให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้้สัตว์น้ำในทะเลตาย แล้วระบบการระบายน้ำของเราก็จะมีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ไม่ใช่การสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำทันทีอย่างที่เข้าใจกัน หากสร้างลักษณะนั้น น้ำในแม่น้ำก็จะเอ่อออกมาท่วมข้างๆ ได้


ดร.สมิทธ กล่าวยืนยันแนวคิด ต้องสร้างเขื่อนปิดตั้งแต่ บริเวณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไปจนถึงบริเวณ ปากแม่น้ำบางปะกง ใน จ.ฉะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 90 กม. จึงจะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างได้ผล แต่ทั้งหมดต้องเป็นนโยบายระดับชาติเป็นผู้ดำเนินการจึงจะมีโอกาสสำเร็จ ความจริงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้เคยมาศึกษาไว้ให้แล้ว ขณะที่ประเทศเวียดนามเพื่อนบ้านเราก็สร้างเขื่อนยาว ถึง 33 กิโลเมตร ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปท่วมประเทศเสร็จแล้วเช่นกัน และยังส่งรูปมาให้ผมดูด้วย 

ดร.สมิทธ กล่าวอีกว่า "ยืนยันไม่มีหนทางอื่นในการแก้ปัญหาอย่างได้ผลอีกแล้ว หากไม่สร้างเขื่อนก็ต้องย้ายเมืองหลวง ทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้แล้ว เพราะต้องยอมรับ กทม. เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของโลกที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคต หากไม่มีการแก้ไข แต่มันก็ไม่ใช่ไทยประเทศเดียว สิงคโปร์ก็โดน สิงคโปร์กำลังพิจารณาสร้างเขื่อนรอบๆ เกาะป้องกันน้ำท่วม กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หรือจะเป็นเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ก็เช่นกัน ญี่ปุ่นก็คงโดนหลายเกาะ

 

 


หากรัฐบาลตัดสินใจดำเนินการจริงๆ ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งที่ท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูง หรือจากปริมาณน้ำเหนือในอนาคตได้ รวมทั้งยังได้ผลพลอยได้ คือได้ถนนบนสันเขื่อน 4 เลนขนาดใหญ่ และสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 7 เมตร ซึ่งสามารถเดินทางจากกรุงเทพลงไปภาคใต้ หรือจากภาคใต้ตรงไปภาคตะวันออกเลยทีเดียว แต่ต้องเข้าใจว่า ไม่เหมือนโครงการถนนในทะเลของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยเสนอจะสร้างจนเป็นที่เกรียวกราวมาแล้ว เพราะนั่นอาจใช้ประโยชน์ได้เพียงด้านเดียวคือเป็นถนน ไม่คุ้มค่า แต่นี่จะใช้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมด้วย พร้อมกับได้แลนด์บริดจ์น้ำจืดด้านหนึ่ง อีกด้านเป็นน้ำทะเล สามารถเก็บน้ำจืดไว้ใช้ประโยชน์ได้ในยามหน้าแล้ง ส่วนหน้าน้ำก็ใช้เป็นแก้มลิงระบายน้ำลงทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

 

"หากดำเนินการได้ตามนี้ เชื่อว่าประเทศไทยจะพ้นจากปัญหาน้ำท่วมขังทั้งจากน้ำทะเลหนุนสูง และปัญหาน้ำเหนือหลากลงมาระบายลงทะเลไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ได้ ทำให้เกิดแนวคิดเสนอให้มีการย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปอยู่ที่อื่นไม่ว่า จะเป็นที่ จ.เพชรบุรี นครนายก หรือเพชรบูรณ์อาจหมดไป และจะป้องกันน้ำท่วมกทม.เมืองหลวงของประเทศไทยไปในอนาคตอย่างน้อยอีก 30-40 ปี ข้างหน้า เลยทีเดียว แต่คงไม่ใช่ชั่วกัลปาวสานอย่างที่เป็นข่าวกัน ก็อยู่ที่ว่ารัฐบาลชุดนี้และชุดต่อๆ ไป จะกล้าตัดสินใจหรือไม่?" ดร.สมิทธ กล่าว…


โดย: ทีมข่าวการเมือง

18 พฤศจิกายน 2554, 05:45 น.

http://m.thairath.co.th/content/region/217316

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

Fri, 18/11/2011 - 19:53วีดีโอ
Printer-friendly version
วงเสวนาเห็นพ้องเสนอรัฐบาลตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำท่วม

วงเสวนาวิชาการ "มหาอุทกภัย ใครต้องรับผิดชอบ" ซึ่งมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำเข้าร่วมสะท้อนความเห็นในแง่มุมต่างๆ ได้ข้อสรุปตรงกันที่จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีสาเหตุของน้ำท่วมปี 2554 พร้อมกันนั้นก็เสนอทางเลือกให้ประชาชนพิจารณายื่นฟ้องความผิดพลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปถึงรัฐบาล เพื่อกำหนดแผนป้องกันในอนาคต

ทันทีที่เปิดเวทีการแลกเปลี่ยน และร่วมสะท้อนปัญหา "มหาอุทกภัย ใครต้องรับผิดชอบ" โสภณ สุภาพงษ์ อดีต สนช.ได้นำข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ขึ้นมาแจกแจง พร้อมกับระบุถึงการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมและกันยายน ทำให้เป็นต้นเหตุของมหาอุทกภัย แต่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดบ้าง มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนข้อเท็จจริง

พร้อมกันนี้ ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมสะท้อนข้อมูลภาครัฐ กับการบริหารจัดการน้ำที่เชื่อว่า ล้มเหลว โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถป้องกันนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งได้ ขณะเดียวกันยังพบว่าไม่สามารถแจ้งเหตุอพยพได้ตามข้อเท็จจริงและทันที

นอกจากนี้ เวทีการเสวนาครั้งนี้ เจษฎา อนุจารี จากสภาทนายความยังเปิดเผยถึงผู้ที่ลงทะเบียนขอความช่วยเหลือที่จะฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐตั้งแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปจนถึงรัฐบาล เพื่อเรียกค่าเยียวยาและเสียหายเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 20 รายแล้ว และเชื่อมั่นว่าจะสามารถฟ้องได้ ทั้งศาลแพ่ง อาญา และศาลปกครอง แต่เสนอให้เพิ่มเติมในท้ายคำฟ้อง ที่ขอให้ศาลสั่งให้รัฐจัดทำแผนป้องกันสาธารณะภัยในอนาคต เพื่อประโยชน์ต่อไปด้วย

ขณะที่ รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เสนอเพิ่มเติมให้รัฐจัดหาเม็ดเงินงบประมาณเยียวยาและฟื้นฟู จากการจัดค่าภาคหลวงจากการขุดเจาะปิโตรเลียมและทองคำ แทนการเรียกเก็บภาษีหรือใช้เงินคงคลังในปัจจุบัน

บทสรุปจากการสะท้อนปัญหาในเวทีเสวนาครั้งนี้คือการถามหาความรับผิดชอบจากสถานการณ์น้ำ, การค้นหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่คาดหวังให้สังคมได้ร่วมชำแหละ เพื่อถอดรหัสอุทกภัยมาเป็นบทเรียน เพื่อกำหนดแผนป้องกันในอนาคตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการวางแผนที่ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของรัฐ เพื่อการปฏิบัติในอนาคตอย่างเป็นระบบและเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอีกด้วย

http://news.thaipbs.or.th/content/

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เตรียมรับมือน้ำท่วมสมุทรสาคร part 1/1

เมื่อ 12 พ.ย. 2011

เทปบันทึกภาพการสนทนาเตรียมรับมือน้ำท่วมสมุทรสาครโดย
อ.ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตศักดิ์ พุฒจร นักวิชาการเครือข่ายอาสาฝ่าน้ำท่วม
และนายกุลวัชร หงษ์คู นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร
บันทึกเทปวันที่ 11/11/2011 โดย มหาชัยเคเบิลทีวี

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาพรอยเตอร์ เอพี เอเอฟพี เก็ตตี้อิมเมจ


 
วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 23:58 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


สื่อมะกันประมวลภาพวิกฤตมหาอุทกภัยไทยชุดใหม่

 เว็บไซต์นิตยสารข่าว "ดิ แอตแลนติก" สื่อดังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอลัน เทย์เลอร์ รวมรวบและเผยแพร่ภาพข่าววิกฤตการณ์มหาอุทกภัยถล่มกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ ชุดใหม่ ใช้ชื่อว่า "Thailand Floods Pass Their Peak" (น้ำท่วมประเทศไทยเกินจุดรุนแรงที่สุดแล้ว) พร้อมระบุว่าภัยน้ำท่วมของไทยครั้งนี้นับว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี 

 






















 สนามบินดอนเมือง

เยาวราช



















 หมายเหตุ : ภาพรอยเตอร์ เอพี เอเอฟพี เก็ตตี้อิมเมจ

 

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1ETTJOekl5TWc9PQ==&sectionid=

Share488