วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

27 ม.ค. 54 คณะอนุกรรมาธิการประชากรและการพัฒนา วุฒิสภา จะจัดสัมมนาเรื่อง "เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของประเทศไทย" หวัง รับฟังปัญหาอุปสรรค เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขอย่างระบบ 4 ก.พ. นี้

นายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการประชากรและการพัฒนา ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 08.30 – 16.30 น. กมธ.จะร่วมกับองค์การสมาชิกรัฐสภาแห่งเอเชียด้านประชากรและการพัฒนา (AFPPD) จัดสัมมนาเรื่อง"เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของประเทศไทย" ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบพร้อมจัดทำเป็นข้อเสนอต่อ รัฐสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวจะมีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง "บทบาทขององค์การสหประชาชาติต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ" โดยผู้แทนจาก UNFPA และการอภิปรายเรื่อง "เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และด้านการสาธารณสุข" โดยผู้อำนวยการสำนักกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และมีศ.พิเศษ ประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เปิดการสัมมนา



อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1314





วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

วันที่ 28-30 มกราคม 2554 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร


 

 

วันที่ 28 มกราคม 2554 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
13.00 น. เปิดงาน และ เปิดให้เข้าชมนิทรรศการ
14.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
...-The Luckiest Nut In The World (8 นาที)
ฉายภาพยนตร์เรื่อง King Corn (2007, 88 นาที)
16.00 น. เสวนา "จากแปลงสู่ปาก"
โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นักเคลื่อนไหวทางสังคม
คำ ผกา คอลัมนิสต์ นักวิจารณ์
ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
17.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
- Young Agrarians (8 นาที)
- Profit Cola (2.06 นาที)
ฉายภาพยนตร์เรื่อง A Touch of Spice (2003,108 นาที)
* ทีมงานหนังสั้นออกถ่ายทำด้วยประเด็นที่ตนสนใจจากรอบตัวตลอดวัน

วันที่ 29 มกราคม 2554 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
10.00 น. เปิดให้เข้าชมนิทรรศการ
14.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
- Asparagus! (5.57 นาที)
- One More Dead Fish (7.50 นาที)
ฉายภาพยนตร์เรื่อง Our Daily Bread (2005,92 นาที)
16.00 น. เสวนา "อาหารกับความรื่นรมย์ของชีวิต"
โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักมานุษยวิทยา
กฤช เหลือลมัย นักโบราณคดี
ดำเนินรายการโดย ภาสกร อินทุมาร
17.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
- Don't Worry (8 นาที)
- Terminator Tomatoes (5 นาที)
ฉายภาพยนตร์เรื่อง Eat Drink Man Woman
* ทีมงานหนังสั้นเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ

วันที่ 30 มกราคม 2554 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
10.00 น. เปิดให้เข้าชมนิทรรศการ
14.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
- Inch By Inch: Providence Youth Gardens for Change (8 นาที)
- The Meatrix (3.47 นาที)
ฉายภาพยนต์เรื่อง Favor of Happyness
16.00 น. เสวนา "เรื่องอยู่เรื่องกินในภาพยนตร์"
โดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร นักเขียน นักวิจารณ์หนัง
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต มูลนิธิหนังไทย
ดำเนินรายการโดย สุภาพ หริมเทพาธิป
17.00 น. ฉายหนังสั้นชุด Good Food จาก Media That Matters Film Festival
- Food Justice: A Growing Movement (7.50 นาที)
- Water Warriors (6.17 นาที)
ฉายหนังสั้นที่ผลิตขึ้นระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ

หมายเหตุ : วิทยากรอยู่ระหว่างการประสานงาน
กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะ


วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

อย่าเป็น...ปีกระต่ายตื่นตูม! วิบัติภัยส่งท้าย"ปีเสือดุ"บทเรียนจากธรรมชาติส่งสัญญาณเตือนมนุษย์


อย่าเป็น...ปีกระต่ายตื่นตูม! วิบัติภัยส่งท้าย"ปีเสือดุ"บทเรียนจากธรรมชาติส่งสัญญาณเตือนมนุษย์
Pic_137946

วิกฤติเพิ่งเริ่มต้น!

เหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. ต่อเนื่องถึง พ.ย. ทั้งบาง พื้นที่ยังลากยาวถึงกลาง ธ.ค.2553 นับเป็นประวัติศาสตร์ด้านภัยพิบัติว่าด้วยการเกิดอุทกภัยที่ต้องบันทึกไว้ อีกครั้ง  กับความเสียหายอย่างรุนแรงชนิดไม่เคยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และขยายวงกว้างไล่ลงมาตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางไป จนถึงภาคใต้

เป็นวิกฤตการณ์อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย

ที่ สำคัญ น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ ปรากฏการณ์น้ำท่วมธรรมดาๆ เช่นที่ผ่านๆมา แต่เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เริ่มจาก จ.นครราชสีมา ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประตูสู่ที่ราบสูง และลุกลามต่อไปยังอีกหลายจังหวัดใกล้เคียง ก่อนเกิดวิกฤติซ้ำน้ำท่วมหนักที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

จาก อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ส่งผล ให้เกิดข้อวิจารณ์กันหลายกระแส แต่สรุปคือล้วนแล้วแต่พุ่งเป้ามาที่ "คน" ซึ่งเป็นตัวการทำร้ายธรรมชาติมานาน ทั้งตัดไม้ ทำลายป่า ถมคูคลอง ใช้สารเคมีทำลายระบบนิเวศ จนถึงวันนี้.....วันที่ธรรมชาติขอเอาคืนบ้าง

และ เพื่อส่งท้าย "ปีเสือดุ" ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม ขอใช้โจทย์จากวิบัติภัยที่เกิดขึ้น แสวงหาคำตอบจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำรอยอีก


ดร.รอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จุดอ่อนของประเทศไทยคือ ใช้ทฤษฎีฝรั่งมาแก้ปัญหาโดยไม่ดูถึงความเหมาะสมของประเทศ บทเรียนนี้คงต้องมีการทบทวนเรื่องโครงสร้างในการแก้ปัญหาน้ำท่วมกันใหม่ เพราะแผนป้องกันน้ำท่วมที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต่างคน ต่างทำ การจะนำไปใช้ยังน้อยอยู่ รวมทั้งการกำหนดแผนต่างๆ จะมาจากพื้นที่ส่วนกลาง โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่อื่น เช่น ในชนบทอีสาน ที่ต้องใช้แผนป้องกันคนละอย่าง

"ผมเห็นว่าควรทบทวนโครงสร้างแผน ป้องกันน้ำท่วมที่มีอยู่ แต่ไม่ได้ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ เพราะถ้าตั้งใหม่แล้วจะยุ่ง เนื่องจากของเก่าก็ยังไม่ได้แก้ อีกทั้งควรมีผู้สั่งการที่ชัดเจน โดยเฉพาะในสถาน-การณ์ภาวะฉุกเฉินด้วย" ดร.รอยลกล่าวและว่า โครงสร้างน้ำของประเทศไทยต้องมาดูว่าการไหลของน้ำเดินทางอย่างไร ซึ่งสำคัญมาก ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้โครงสร้างน้ำ  โดยเฉพาะการบริหารจัดการจะต้องมีการปรับอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีแผนยืดหยุ่น

"หลักแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว  พระราชทาน คือ ถ้าจะบูรณาการกันได้ หลักคิดจะต้องรวมกันเช่น หลักคิดอีสานเราเชื่อว่าแล้ง เราสามารถผันน้ำจากแม่น้ำโขงได้ แต่ถ้าเราเชื่อว่ามันท่วม เราต้องแก้อีกแบบ แต่ถ้าเราเชื่อว่ามันทั้งท่วมและแล้งด้วย แนวคิดนี้จะต้องตรงกันจากหลายหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นถ้าหน่วยงานของใครของมันต่างทำโดยไม่คิดถึงภาพรวมมันก็จะเกิด ปัญหา แต่ถ้าทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยกันและนำบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มาเป็นแนว ทางวางแผน  เชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมคงน้อยลง และยังสามารถใช้น้ำที่ท่วมได้มีประสิทธิภาพ" ดร.รอยล กล่าว


ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ เสนอแนะด้วยว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมต้องแก้ที่ต้นเหตุ อาจจะต้องออกกฎหมายที่มาจากรัฐสภา ไม่ใช่ออกโดยรัฐบาล แม้ว่ารัฐบาลจะร่างในการแก้ปัญหาน้ำท่วมไว้อย่างไรก็ไม่เดิน เพราะกฎหมายเขียนเรื่องอำนาจ แต่ไม่มีการเอาใจใส่ในเรื่องหน้าที่

"อยาก ถาม กทม.ว่า ท่อระบายน้ำจากหัวลำโพงที่จะระบายน้ำไปลงที่คลองเตย จะปรับไหม  หรือจะทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ เราไม่เคยเข้าสู่วงจรข้อมูลปัจจุบันเลย ตรงนี้ เป็นโจทย์ที่คนทั้งชาติต้องมาช่วยกันทำและคิด กฎหมายที่ออกต้องเป็นแบบเชิงรัฐศาสตร์ ไม่ใช่กฎหมายเชิงนิติศาสตร์ ถ้าใครอาสารับมาทำก็ต้องมีความรับผิดชอบ และเชื่อว่าใน 4-5 เดือนข้างหน้า เราคงจะเจออีกและเจอถุงยังชีพเหมือนเดิม" ดร.รอยล กล่าว

ขณะที่ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นปีนี้ ในแง่ความเสียหายถือว่ามาก แต่ส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากก็คือวิธีในการรับมือของเรา หรือความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาพวกนี้มีน้อย อย่างที่สองคือทิศทางการพัฒนา เราไม่ค่อยเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็น ไม่ค่อยเอาเรื่องภัยพิบัติมาเป็นประเด็นในการพัฒนาเลย เรามักจะมองว่าทำอย่างไรให้ถูกที่สุด เร็วที่สุด หรือมีอะไรเกิดขึ้นก็ค่อยมาแก้เอาแบบนี้ เอาตัวรอดไปครั้งนึง เพราะหวังว่ามันไม่เกิดบ่อย


"ผมกลัวมากเลยไอ้ความเป็นเอกภาพ เพราะตอนนี้การบริหารจัดการเรื่องภัยพิบัติ มันต้องใช้หลักการจัดการความเสี่ยง ไม่ใช่ การจัดการความแม่นยำ ถ้าเกิดคุณไปเน้นเรื่องความแม่นยำเมื่อไหร่ มันจะทำให้คุณ input ตัวเองไปในจุดที่เสี่ยง เพราะถ้าเราพูดว่ามันแม่น เกิดไม่แม่นจะซวยเลย แต่ถ้าเรารับสภาพว่า เฮ้ย...มันไม่แม่น ห้าหน่วยงานบอกมาต่างกันขนาดนี้เลย ความคิดผมนะต่างกันเยอะๆยิ่งดี เพราะว่าอย่างน้อยๆ การเตรียมพร้อมในช่วงกว้าง คือจะมาน้อยมามากรับได้หมด แต่ถ้าคุณเรียกร้องให้แม่นเนี่ยน่ากลัว เพราะว่าผิดแน่นอน เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัวเรื่องความไม่ลงรอย สำหรับผมข้อมูลความรู้ไม่จำเป็นต้องมีเอกภาพ แต่การตัดสินใจต้องมีเอกภาพ" ดร.อานนท์ กล่าว

ด้าน นายคุณพจน์ บัวโทน วิศวกรชำนาญการพิเศษ ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า จากการเก็บสถิติพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2549-2552 พบว่ามีทั้งสิ้น 221 อำเภอรวม 59 จังหวัด แบ่งออกเป็นภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ จ.ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ส่วนภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ ขอนแก่น เลย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ขณะที่ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส


วิศวกรชำนาญการพิเศษ กล่าวอีกว่า ปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ ไม่ได้เกิดจากการขาดแผนรับมือ กรมทรัพยากรน้ำได้ทำแนวทางศึกษาแก้ไขปัญหา อุทกภัย มีการศึกษาพื้นที่เสี่ยงในระดับลุ่มน้ำต่างๆไว้ละเอียด ซึ่งผลการศึกษาพบว่าลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะน้ำมูลและชีมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมระดับรุนแรง จากปริมาณฝน และระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงมากผิดปกติ

"พร้อมกันนี้ยังได้โฟกัสออก เป็นแผนบรรเทาอุทกภัยเร่งด่วนในชุมชนเมือง ของ 16 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ สุโขทัย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ปัตตานี และยะลา ซึ่งเป็นเมืองเร่งด่วนที่เสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วม" นายคุณพจน์กล่าว

ขณะ ที่ นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธาน มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาน้ำท่วม มาจาก 1. สถานการณ์น้ำมากกว่าปกติ 2. การก่อสร้างมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามความถูกต้องของผังเมืองหรือไม่มีการควบคุมที่ชัดเจน 3. ภัยธรรมชาติลานีญาหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดถี่ขึ้นคือ  ต้องมีเจ้าภาพชัดเจนเพื่อให้การทำงานมีเอกภาพและมองเห็นภาพรวมของทั้งระบบ

ขณะ เดียวกัน  ต้องไม่ลืมความจริงอีกด้าน นั่นคือ ปัญหาน้ำท่วมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี แต่กลับไม่มีการวางแผนแก้ ปัญหาหรือเตรียมรับมือล่วงหน้า ครั้งล่าสุด ก็เช่นกัน  ทั้งที่รู้แล้วว่าปริมาณน้ำจากฝนที่ตกหนักติดต่อกันต่อเนื่อง เกิดปริมาณน้ำล้นเขื่อน แต่กลับไม่มีมาตรการเตือนภัยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมให้ประชาชนรับรู้ว่าปริมาณ น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมมีมากน้อยแค่ไหน เท่ากับที่เกิดขึ้นทุกๆปี หรือว่ามากกว่ากี่มากน้อย

น้ำที่ล้นทะลักเข้าท่วมนครราชสีมาหรือ หาดใหญ่ จ.สงขลา อย่างฉับพลันทันทีจนชาวบ้านเก็บข้าวของไม่ทัน ทรัพย์สินเสียหาย สะท้อนให้เห็นความอ่อนด้อยในเรื่องการเตือนภัยอย่างชัดเจน


ทั้งที่ความจริงแล้วประเทศไทยได้ลงทุนด้านระบบชลมาตรกว่า 1,500 ล้านบาท มาก่อนหน้านี้ 3 ปีแล้ว ระบบดังกล่าวจะมีจุดตรวจ วัดน้ำในทุกลุ่มแม่น้ำ 25 สายหลักที่สำคัญของ ประเทศรู้ข้อมูลปริมาณน้ำ   รู้ทิศทางไหลของ น้ำ    แต่เมื่อถึงเวลาเกิดปัญหากลับไม่สามารถ เตือนภัยประชาชนได้  เพราะไม่มีวอร์รูม ประสานการทำงานร่วมกันทำให้การประ-มวลผลข้อมูลและเตือนภัยทำได้ไม่ดีพอ

ขณะ ที่การขุดลอกคูคลองเพื่อเตรียมการรับมือถูกละเลย ส่วนการตรวจสอบสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ รุกล้ำลำน้ำ การสร้างถนน ถมที่ดิน ขยายตัวเมืองอย่างไร้ระเบียบแบบแผน ซึ่งรู้กันตลอดว่าเป็นปัญหาโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม แต่กลับไม่มีการแก้ไขจัดการ พอเกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ทีหนึ่งก็พูดกันพักหนึ่งแล้วก็ลืมกันไป

ถึง เวลาแล้วหรือยังที่ทุกฝ่าย  รวมถึงประชาชน ต้องหันมาใส่ใจและเรียนรู้ที่จะรู้จักอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สำคัญที่สุดต้องหยุดการท้าทายทำร้าย และทำลายธรรมชาติ ไม่เช่นนั้น เราก็คงถูกธรรมชาติลงโทษ และต้องทุกข์โศกกันไม่มีวันสิ้นสุด

หายนภัย ที่เกิดขึ้นที่ยิ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรง ทั้งขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นแล้ว ไม่ว่ามนุษย์จะเก่งกาจแค่ไหน ก็ไม่มีใคร สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

สิ่งที่ ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม อยากฝากคือ หายนภัยจากปีเสือดุที่กำลังจะผ่านพ้นไปเป็นบทเรียนที่คนไทยต้องจดจำ และตระหนักถึงพิษร้าย เมื่อธรรมชาติ "ทวงคืน" ความเป็นธรรมจาก "คน"

แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ตื่นตระหนก จนกลายเป็น "กระต่ายตื่นตูม" ที่ตื่นกลัวจนเกินเหตุหรือสร้างปราการป้องกันจนมากเกินไป

สิ่ง สำคัญในการป้องกันหายนภัย คือ ขอเพียงคนไทยน้อมนำกระแสพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง การสูญเสียคง ไม่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

"อย่ารังแกธรรมชาติ  เพราะธรรมชาติ จะโกรธและลงโทษเราเอง".

 


ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม


ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม
  • 31 ธันวาคม 2553, 05:30 น.